วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาค

คำชี้แจง 
ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้ 
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)


1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
       ตอบ    กฎหมาย คือข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายคนในประเทศ     ซึ่งเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกันถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีความผิดและถูกลงโทษตามที่กำหนดไว้             
                การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่า ต้องใช้โดยการไม่เลือกกระทำ ใช่ว่าจะทำเฉพาะบุคคลทั่วไป แต่บุคคลที่ร่ำรวย มียศ หรือลูกคนมีหน้ามีตา และต่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นคนปกครองบ้านเมืองก็ต้องได้รับโทษเช่นกัน นี่คือการไม่เลือกปฏิบัติ แต่ปัจจุบัน เราจะเห็นแพะรับบาปมากขึ้นและส่วนมากลูกคนรวยต่อให้ชนคนตายกี่คนก็ไม่โดนลงโทษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ารับไม่ได้กับคำว่ากฏหมายไทย
     

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัีฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ  
          ตอบ  เห็นด้วยเพราะใบวิชาชีพครูบ่งบอกถึงการเป็นครูที่แท้จริง เป็นครูที่เรียนมาอย่างถูกต้องแต่ก็มิใช่ว่าครูที่ไม่มีใบวิชาชีพนั้นไม่ดี ไม่เก่ง แต่ใบวิชาชีพครูเป็นเครื่องมือการันตีความสามารถของบุคคลนั้นๆ เหมือนเราไปหาหมอ ถ้าหมอไม่มีใบวิชาชีพเราก็ไว้ใจไม่ได้ถึงแม้ว่าเราจะเอาผิดทางด้านกฏหมายได้ มันก็ไม่คุ้มกันเพราะเราเจ็บตัว ครูก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีใบวิชาชีพ ผู้ปกครองเขาก็ไม่อยากให้ลูกมาเรียนเพราะลูกอาจจะได้รับข้อมูลที่ผิดไป แล้วความรู้ที่ผิดนั้นก็จะตกผลึกไปกับเขาด้วย แล้วใบวิชาชีพครูก็ทำให้วิชาชีพครูมีคุณค่ามากขึ้นด้วย 

       

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
       ตอบ ในหมูบ้านของข้าพเจ้าเป็นหมู่บ้านที่มีความเป็นไทยอยู่ ถ้าข้าพเจ้าจะระดมทุนก็อยากใช้วิธีการบ้านๆ เช่นการทอดผ้าป่าสามัคคี เพราะชุมชน วัด โรงเรียน หน่วยงานต่างๆๆก็จะได้มีส่วนร่วมกันสนับสนุนการศึกษา ซึ่งการทำบุญเป็นการทำด้วยใจและศรัทธา ไม่ได้เป็นการบังคับใคร และความรักใคร่ในชุมชนก็จะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ใช่จะทอดผ้าป่าอย่างเดียว คงต้องมีการนำวัสดุท้องถิ่นที่มีอยู่ ก็คือกระจูด มาให้เด็กดัดแปลง ตกแต่งให้สวยงามและส่งขายในนามของโรงเรียน ทำให้สินค้าและโรงเรียนน้ั้นได้รับชื่อเสียงจากการทำเช่นนี้ด้วย


4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง


        ตอบ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย              
               (1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
               (2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
                 (3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ  ของการศึกษา การวัดและการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน                                                                                                                                                                
                  การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษาการแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญาการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
        


5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ

            ตอบ   แตกแต่างกัน ภาคบังคับเป็นการบังับให้เรียนอย่างน้อย 9 ปี คือ ป 1 -ม 3 และขั้นพื้นฐานคือ ป 1 - ม 6 ซึ่งถ้าผู้ปกครองไม่ให้เด็กเรียนภาคบังคับ ผู้ปกครองจะโดนโทษทางกฏหมาย


6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง


    ตอบ ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ดังนี้
                   (1) สำนักงานปลัดกระทรวง
                         (2) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
                                   (1) สำนักงานรัฐมนตรี
                                   (2) สำนักงานปลัดกระทรวง
                                   (3) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                                   (4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                   (5) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                                   (6) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ส่วนราชการตาม (2) (3) (4) (5) และ (6) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
         ตอบ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมาย


8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด 

             ตอบไม่ได้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้เพราะ ตาม พ.ร.บ.นี้ในส่วนที่๕  มาตราที่๔๓ ได้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้               
            1. ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา                         
            2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย                      
            3.นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด                   
            4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย                   
            5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด    
            6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน  
            7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา   
            8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
    

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง 


           ตอบ โทษทางวินัยก็เป็นการลงโทษเมื่อครูกระทำผิดวินัยต่างๆ เช่นไม่มาสอน ละเว้นหน้าที่ ออกจากโรงเรียนไปทำธุระโดยไม่ได้รับอนุญาต รักใคร่กับนักเรียน รวมถึงพฤติกรรมต่างๆที่ไม่ดี ส่วนโทษทางวินัยตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551   มี 5 สถาน คือความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
            1. ภาคทัณฑ์ เป็นโทษสำหรับกรณีกระทำผิดวินัยเล็กน้อย หรือมีเหตุอันควรลดหย่อน ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษตัดเงินเดือนนอกจากนี้ ในกรณีกระทำความผิดวินัยเล็กน้อย และมีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือหรือว่ากล่าวตักเตือนก็ได้
            2. ตัดเงินเดือน เป็นการลงโทษตัดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนและเป็นจำนวนเดือน เช่น ตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน เมื่อพ้นเวลา 2 เดือนแล้วก็จะได้รับเงินเดือนตามปกติ
           3. ลดเงินเดือน เป็นการลงโทษโดยลดเงินเดือนเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ เช่น ลดเงินเดือน 2% หรือ 4% ของอัตราเงินเดือนของผู้กระทำผิดความผิดวินัยร้ายแรง
           4. ปลดออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ
           5. ไล่ออก เป็นการลงโทษให้พ้นจากราชการ โดยไม่ได้รับบำเหน็จ


           

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน

           ตอบ เด็ก ก็คือผู้ที่ยังอยู่ในความปกครองของพ่อแม่ ยังต้องอาศัยพ่อแม่ในทุกๆเรื่อง
                   เด็กเร่ร่อน  คือเด็กที่ไม่มีที่อยู่ อาศัย ไม่มีใครดูแล ใช้การหากินด้ยตัวเอง อยู่ด้วยตัวเอง และก็ไม่ได้เข้าเรียน
                   เด็กกำพร้า คือเด็กไม่มีพ่อแม่ หรือเด็กที่ไม่มีผู้ปกครอง
                   เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก คือเด็กที่อาจจะมีพ่อแม่แต่ยากจน หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ลำบาก อาหารการกินต่างๆ ก็ไม่ได้รับเหมือนหรือเท่าคนอื่นเขา
                  เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร อารมณ์รุนแรง เด็กเที่ยว ซึ่งเด็กพวกนี้ยังไม่ได้ทำผิดแต่เสี่ยงถ้าเจอเพื่อนที่ไม่ดีอาจทำให้เด็กพวกนี้กระทำผิดได้
                  ทารุณกรรม  คือการทำร้ายหรือจำกัดเสรีภาพทั้งทางกายและใจของเด็กซึ่งนอกจากนี้ก็ยังเป็นการทำร้ายเด็กทางกายอละใจ ซึ่งนี้ก็เป็นการทารุณกรรมเด็ก ไม่ว่าผู้กระทำนั้นจะเป็นพ่อแม่ ก็ตาม นั่นก็คือการทารุณกรรม
                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น